วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012



การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 57 และมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน คู่ลงสมัคร ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง คู่แข่งคนสำคัญ คือ มิตต์ รอมนีย์ ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันและอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ และวุฒิสมาชิกพอล ไรอัน คู่ลงสมัคร จากรัฐวิสคอนซิน
ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งวุฒิสมาชิกหนึ่งในสาม (33 ที่นั่ง) ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสองปีเพื่อเลือกตั้งสมาชิกมายังสมัยประชุมสภาคองเกรสที่ 113 นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐสิบเอ็ดรัฐและการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในหลายรัฐพร้อมกันด้วย



Defense.gov photo essay 120528-D-BW835-540(2).jpgMitt Romney speaking close up cropped.jpg
ผู้แทนพรรคบารัก โอบามามิตต์ รอมนีย์
พรรคพรรคเดโมแครตพรรครีพับลิกัน
Home stateรัฐอิลลินอยส์รัฐแมสซาชูเซตส์
Running mateโจ ไบเดนพอล ไรอัน
Electoral vote332206
States carried26 + ดี.ซี.24
คะแนนนิยม61,681,462[1]58,488,199[1]
ร้อยละ50.6%[1]47.9%[1]

ElectoralCollege2012.svg
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐหรือเขตที่โอบามา/ไบเดนชนะ
สีแดง แสดงถึงรัฐหรือเขตที่รอมนีย์/ไรอันชนะ
ตัวเลขหมายถึงจำนวนคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งซึ่งจะเป็นของผู้ชนะในเขตนั้น

5 เหตุผล ทำไม โอบามาชนะเลือกตั้งประธานาธิบดี 2012 

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างไม่เป็นทางการ ชี้ชัดว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะได้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัยอย่างแน่นอน หลังได้คะแนนอิเล็กโทรัลโหวตถึง 303 คะแนน ขณะที่คู่แข่งอย่างมิตต์ รอมนีย์ ได้เพียง 206 คะแนน แต่ทำไมโอบามาจึงชนะมิตต์ รอมนีย์ ในการเลือกตั้งที่กล่าวกันว่ามีคะแนนสูสีที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐฯ บรรดานักวิเคราะห์ และสื่อต่างประเทศวิเคราะห์ไว้ 5 เหตุผลดังนี้

นโยบาย
โอบามาและทีมหาเสียงของเขาต้องทำใจว่าจะได้คะแนนจากคนอเมริกันผิวขาวน้อยลงกว่าเดิมอย่างแน่นอน แต่นโยบายของเขาที่ยกเลิกการเนรเทศผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายที่เข้ามาในสหรัฐฯ ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ขณะที่ฝ่ายรอมนีย์ต่อต้านอย่างสิ้นเชิง ทำให้โอบามาได้คะแนนกลุ่มคนอายุน้อยมากขึ้น โดยจากเอ็กซิตโพลของซีเอ็นเอ็นชี้ว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมา โอบามาได้คะแนนจากผู้ลงคะแนนที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี ถึง 60% ส่วนรอมนีย์ได้เพียง 37%
นอกจากนี้ โอบามายังได้คะแนนจากกลุ่มคนรักร่วมเพศและสตรี จากนโยบายผลักดันการสมรสของคนเพศเดียวกัน ให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงนโยบายการทำแท้งเสรี โดยขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ทำให้โอบามาได้คะแนนจากสตรี ซึ่งมีอัตราส่วน 53% ของผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมดถึง 55% ต่อ 44%


การเลือกตั้งล่วงหน้า
การเลือกตั้งล่วงหน้าในรัฐแบทเทิลกราวด์สเตท หรือรัฐที่มีการชิงชัยแข่งขันสูง เนื่องจากประชาชนยังไม่ตัดสินใจเรื่องฝ่ายใด ได้แก่ โอไฮโอ ฟลอริดา เวอร์จิเนีย วิสคอนซิล นิวแฮมเชียร์ ไอโอวา โคโลราโด และเนวาดา ซึ่งทั้งโอบามาและรอมนีย์ต่างพยายามหาเสียงในรัฐเหล่านี้เพื่อกระตุ้นให้คนไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้าอย่างเต็มที่ แต่โอบามาเป็นฝ่ายที่ทำได้ดีกว่ามาก โดยเฉพาะในรัฐโอไฮโอ แม้จากรายงานการติดตามและการเลือกตั้งล่วงหน้าของพรรคเดโมเครตชี้ว่า เขาทำได้ไม่ดีเท่าเมื่อครั้งเลือกตั้งปี 2008 ก็ตาม
ผลจากการทำได้ดีกว่าในการเลือกตั้งล่วงหน้า ทำให้โอบามาค่อนข้างได้เปรียบในการเลือกตั้งวันจริง เพราะผู้ที่ยังลังเลใจว่าจะเลือกรอมนีย์ดีหรือไม่ อาจเปลี่ยนใจไปเลือกโอบามาก็ได้ และผลที่ออกมา โอบามาก็ได้รับชัยชนะในรัฐแบทเทิลกราวด์สเตททุกรัฐ


ผลงานที่ผ่านมา
ผลงานในช่วง 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ยังไม่ถือว่าน่าประทับใจ เนื่องจากเขายังไม่สามารถทำนโยบายหลายอย่างให้สำเร็จได้ตามที่หาเสียงไว้เมื่อปี 2008 ทั้งการเพิ่มภาษีผู้มีรายได้สูง ปิดช่องโหว่ในกลไกเก็บภาษี และตัดลดงบประมาณทางทหารของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุล
แต่ผลงานการออกกฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพครั้งแรก นับแต่ยุคปี 1960 รวมถึงการสังหาร โอซามา บิน ลาเดน หัวหน้าใหญ่เครือข่ายก่อการร้ายอัลเคดาเมื่อปีก่อน รวมถึงการถอนทหารอเมริกันในอัฟกานิสถานกลับสู่มาตุภูมิ ก็เพียงพอต่อการทำให้ประชาชนยอมให้โอกาสเขาเป็นประธานาธิบดีต่อไปอีก 4 ปี เพื่อทำนโยบายที่หาเสียงไว้ให้เป็นจริง


เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังดีอยู่
สภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในขณะนี้ กำลังเผชิญทั้งการขาดดุลงบประมาณ และอัตราการว่างงานที่สูง แต่ยังไม่พอจะทำให้โอบามาเสียความนิยมจนหมดได้ โดยในช่วงที่เขารับตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกเมื่อ ม.ค. ปี 2009 มีผู้ตกงานในสหรัฐฯ ถึงเดือนละ 700,000 แต่โพลก็ระบุว่าประชาชนยังโทษ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อดีตประธานาธิบดีก่อนโอบามา เป็นต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ย่ำแย่
ขณะเดียวกัน ในช่วงก่อนการเลือกตั้งเพียงไม่กี่เดือน อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ กลับลดลงเรื่อยๆ จนเหลือ 7.9% ต่ำกว่าเพดาน 8% ตลาดหุ้นก็เริ่มกระเตื้องขึ้น รวมถึงอัตราการขยายตัวของราคาอสังหาริมทรัพย์ก็เริ่มลดลง ช่วยเสริมความมั่นใจแก่ผู้บริโภคได้พอดี

พายุแซนดี้
ความนิยมของโอบามา นำมิตต์ รอมนีย์ โดยมีความต่างมากมาโดยตลอด จนกระทั่งหลังการโต้อภิปรายครั้งแรกของทั้งสองคน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ซึ่งทั้งสื่อ, นักวิจารณ์และนักวิเคราะห์ ต่างเห็นตรงกันว่า รอมนีย์ทำได้ดีกว่าโอบามามาก ทั้งในเรื่องการพูดตอบคำถามที่ฉะฉาน รุนแรง และเรื่องบุคลิกภาพ ส่วนโอบามาถูกวิจารณ์ว่าพูดเชิงวิชาการมากเกินไป ทำให้ฟังดูน่าเบื่อ ส่งผลให้คะแนนของรอมนีย์กระโดดประชิดโอบามาอย่างรวดเร็ว
คะแนนของมิตต์ รอมนีย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงหนึ่งของเดือนตุลาคม เขามีคะแนนผู้ที่จะเลือกเขาในวันเลือกตั้งแซงหน้าโอบามาเสียอีก แม้การโต้อภิปราย 2 ครั้งหลังสุด จะทำให้คะแนนของโอบามากระเตื้องขึ้นบ้าง แต่จุดเปลี่ยนที่แท้จริงคือการมาถึงของซุปเปอร์สตอร์มแซนดี้ ซึ่งส่งผลกระทบกำหนดการหาเสียงของทั้งสองคน แต่โอบามาได้โอกาสแสดงภาวะความเป็นผู้นำในการรับมือภัยพิบัติครั้งนี้ ทำให้ประชาชนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครคนใด เริ่มเอนเอียงไปทางโอบามา เห็นได้จากในช่วงหลัง โพลของหลายสำนัก ทั้งวอลล์สตรีท รอยเตอร์/อิบซอส ต่างให้โอบามามีคะแนนนำในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้

ที่มา 
http://th.wikipedia.org/wiki/การเลืิอกตั้งประธานาธบดีสหัฐอเมริกา ค.ศ.2012
http://www.thairath.co.th/content/oversea/304428

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


รายงานชิ้นที่ 
1. กฎหมาย คืออะไร?
ตอบ กฎหมาย คือข้อบังคับ   กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุม
ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ สามารถแยกลักษณะของกฎหมายออกได้เป็น 5 ประการด้วยกันคือ
            1) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
            2) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฐาธิปัตย์
            3) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
            4) กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้เสมอไป
            5) กฎหมายจะต้องมีสภาพบังคับ

3. กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ ในสังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้
      1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ
      2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
      3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม 
      4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 


4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ  1. แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก
กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ 
กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ
       2. แบ่งโดยฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน แยกได้เป็น กฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน
กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน หรือประชาชนทั่วไปด้วยกัน
กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรัฐ อำนาจหน้าที่ หรือภารกิจของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ของรัฐและประชาชน
3. แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย แยกได้เป็น หลายประเภท เช่น กฎหมายระเบียบบริหารราชการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
4. แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ 
กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาล และขั้นตอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีขึ้น 
5. การแบ่งโดยสภาพบังคับของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง และกฎหมายอื่น เป็นต้น

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
          กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 
          พระราชบัญญัติ
          พระราชกำหนด 
          พระราชกฤษฎีกา
          กฎกระทรวง

6. ที่มาของกฎหมายในระบบ CIVIL LAW มีอะไรบ้าง?
ตอบ ซีวิลลอว์ คือ กฎหมายในระบบ "ประมวลกฎหมาย" ผู้เขียนไม่อยากให้เรียกว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษร เพราะไม่ว่าจะเป็นกฎหมายในระบบใดก็ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น จึงควรใช้คำให้ถูกต้องว่า "ระบบประมวลกฎหมาย"ประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมายมีหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมัน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ COMMON LAW มีอะไรบ้าง?
ตอบ กฎหมายในระบบ "จารีตประเพณี" ที่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน มิใช่ใช้กันตามความรู้สึกแต่อย่างใด แต่เป็นการนำเอาคำพิพากษาในคดีที่ศาลตัดสินแล้วมาเป็นกฎหมาย ประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบนี้ เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศอเมริกา เป็นต้น

8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ   1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (CIVIL LAW)
           2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (COMMON LAW) 
           3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (SOCIALIST LAW)
           4. ระบบกฎหมายศาสนา (RELIGON LAW)

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (CIVIL LAW)

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอ องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ 
1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น
2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ
3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก
4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012



การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 57 และมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน คู่ลงสมัคร ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง คู่แข่งคนสำคัญ คือ มิตต์ รอมนีย์ ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันและอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ และวุฒิสมาชิกพอล ไรอัน คู่ลงสมัคร จากรัฐวิสคอนซิน
ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งวุฒิสมาชิกหนึ่งในสาม (33 ที่นั่ง) ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสองปีเพื่อเลือกตั้งสมาชิกมายังสมัยประชุมสภาคองเกรสที่ 113 นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐสิบเอ็ดรัฐและการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในหลายรัฐพร้อมกันด้วย



Defense.gov photo essay 120528-D-BW835-540(2).jpgMitt Romney speaking close up cropped.jpg
ผู้แทนพรรคบารัก โอบามามิตต์ รอมนีย์
พรรคพรรคเดโมแครตพรรครีพับลิกัน
Home stateรัฐอิลลินอยส์รัฐแมสซาชูเซตส์
Running mateโจ ไบเดนพอล ไรอัน
Electoral vote332206
States carried26 + ดี.ซี.24
คะแนนนิยม61,681,462[1]58,488,199[1]
ร้อยละ50.6%[1]47.9%[1]

ElectoralCollege2012.svg
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐหรือเขตที่โอบามา/ไบเดนชนะ
สีแดง แสดงถึงรัฐหรือเขตที่รอมนีย์/ไรอันชนะ
ตัวเลขหมายถึงจำนวนคะแนนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งซึ่งจะเป็นของผู้ชนะในเขตนั้น

5 เหตุผล ทำไม โอบามาชนะเลือกตั้งประธานาธิบดี 2012 

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอย่างไม่เป็นทางการ ชี้ชัดว่า ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะได้เป็นประธานาธิบดีอีกสมัยอย่างแน่นอน หลังได้คะแนนอิเล็กโทรัลโหวตถึง 303 คะแนน ขณะที่คู่แข่งอย่างมิตต์ รอมนีย์ ได้เพียง 206 คะแนน แต่ทำไมโอบามาจึงชนะมิตต์ รอมนีย์ ในการเลือกตั้งที่กล่าวกันว่ามีคะแนนสูสีที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐฯ บรรดานักวิเคราะห์ และสื่อต่างประเทศวิเคราะห์ไว้ 5 เหตุผลดังนี้

นโยบาย
โอบามาและทีมหาเสียงของเขาต้องทำใจว่าจะได้คะแนนจากคนอเมริกันผิวขาวน้อยลงกว่าเดิมอย่างแน่นอน แต่นโยบายของเขาที่ยกเลิกการเนรเทศผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายที่เข้ามาในสหรัฐฯ ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ขณะที่ฝ่ายรอมนีย์ต่อต้านอย่างสิ้นเชิง ทำให้โอบามาได้คะแนนกลุ่มคนอายุน้อยมากขึ้น โดยจากเอ็กซิตโพลของซีเอ็นเอ็นชี้ว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมา โอบามาได้คะแนนจากผู้ลงคะแนนที่มีอายุระหว่าง 18-29 ปี ถึง 60% ส่วนรอมนีย์ได้เพียง 37%
นอกจากนี้ โอบามายังได้คะแนนจากกลุ่มคนรักร่วมเพศและสตรี จากนโยบายผลักดันการสมรสของคนเพศเดียวกัน ให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงนโยบายการทำแท้งเสรี โดยขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ ทำให้โอบามาได้คะแนนจากสตรี ซึ่งมีอัตราส่วน 53% ของผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมดถึง 55% ต่อ 44%


การเลือกตั้งล่วงหน้า
การเลือกตั้งล่วงหน้าในรัฐแบทเทิลกราวด์สเตท หรือรัฐที่มีการชิงชัยแข่งขันสูง เนื่องจากประชาชนยังไม่ตัดสินใจเรื่องฝ่ายใด ได้แก่ โอไฮโอ ฟลอริดา เวอร์จิเนีย วิสคอนซิล นิวแฮมเชียร์ ไอโอวา โคโลราโด และเนวาดา ซึ่งทั้งโอบามาและรอมนีย์ต่างพยายามหาเสียงในรัฐเหล่านี้เพื่อกระตุ้นให้คนไปใช้สิทธิ์ล่วงหน้าอย่างเต็มที่ แต่โอบามาเป็นฝ่ายที่ทำได้ดีกว่ามาก โดยเฉพาะในรัฐโอไฮโอ แม้จากรายงานการติดตามและการเลือกตั้งล่วงหน้าของพรรคเดโมเครตชี้ว่า เขาทำได้ไม่ดีเท่าเมื่อครั้งเลือกตั้งปี 2008 ก็ตาม
ผลจากการทำได้ดีกว่าในการเลือกตั้งล่วงหน้า ทำให้โอบามาค่อนข้างได้เปรียบในการเลือกตั้งวันจริง เพราะผู้ที่ยังลังเลใจว่าจะเลือกรอมนีย์ดีหรือไม่ อาจเปลี่ยนใจไปเลือกโอบามาก็ได้ และผลที่ออกมา โอบามาก็ได้รับชัยชนะในรัฐแบทเทิลกราวด์สเตททุกรัฐ


ผลงานที่ผ่านมา
ผลงานในช่วง 4 ปีที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ยังไม่ถือว่าน่าประทับใจ เนื่องจากเขายังไม่สามารถทำนโยบายหลายอย่างให้สำเร็จได้ตามที่หาเสียงไว้เมื่อปี 2008 ทั้งการเพิ่มภาษีผู้มีรายได้สูง ปิดช่องโหว่ในกลไกเก็บภาษี และตัดลดงบประมาณทางทหารของประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุล
แต่ผลงานการออกกฎหมายปฏิรูประบบประกันสุขภาพครั้งแรก นับแต่ยุคปี 1960 รวมถึงการสังหาร โอซามา บิน ลาเดน หัวหน้าใหญ่เครือข่ายก่อการร้ายอัลเคดาเมื่อปีก่อน รวมถึงการถอนทหารอเมริกันในอัฟกานิสถานกลับสู่มาตุภูมิ ก็เพียงพอต่อการทำให้ประชาชนยอมให้โอกาสเขาเป็นประธานาธิบดีต่อไปอีก 4 ปี เพื่อทำนโยบายที่หาเสียงไว้ให้เป็นจริง


เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังดีอยู่
สภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในขณะนี้ กำลังเผชิญทั้งการขาดดุลงบประมาณ และอัตราการว่างงานที่สูง แต่ยังไม่พอจะทำให้โอบามาเสียความนิยมจนหมดได้ โดยในช่วงที่เขารับตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งแรกเมื่อ ม.ค. ปี 2009 มีผู้ตกงานในสหรัฐฯ ถึงเดือนละ 700,000 แต่โพลก็ระบุว่าประชาชนยังโทษ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อดีตประธานาธิบดีก่อนโอบามา เป็นต้นเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ย่ำแย่
ขณะเดียวกัน ในช่วงก่อนการเลือกตั้งเพียงไม่กี่เดือน อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ กลับลดลงเรื่อยๆ จนเหลือ 7.9% ต่ำกว่าเพดาน 8% ตลาดหุ้นก็เริ่มกระเตื้องขึ้น รวมถึงอัตราการขยายตัวของราคาอสังหาริมทรัพย์ก็เริ่มลดลง ช่วยเสริมความมั่นใจแก่ผู้บริโภคได้พอดี

พายุแซนดี้
ความนิยมของโอบามา นำมิตต์ รอมนีย์ โดยมีความต่างมากมาโดยตลอด จนกระทั่งหลังการโต้อภิปรายครั้งแรกของทั้งสองคน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ซึ่งทั้งสื่อ, นักวิจารณ์และนักวิเคราะห์ ต่างเห็นตรงกันว่า รอมนีย์ทำได้ดีกว่าโอบามามาก ทั้งในเรื่องการพูดตอบคำถามที่ฉะฉาน รุนแรง และเรื่องบุคลิกภาพ ส่วนโอบามาถูกวิจารณ์ว่าพูดเชิงวิชาการมากเกินไป ทำให้ฟังดูน่าเบื่อ ส่งผลให้คะแนนของรอมนีย์กระโดดประชิดโอบามาอย่างรวดเร็ว
คะแนนของมิตต์ รอมนีย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงหนึ่งของเดือนตุลาคม เขามีคะแนนผู้ที่จะเลือกเขาในวันเลือกตั้งแซงหน้าโอบามาเสียอีก แม้การโต้อภิปราย 2 ครั้งหลังสุด จะทำให้คะแนนของโอบามากระเตื้องขึ้นบ้าง แต่จุดเปลี่ยนที่แท้จริงคือการมาถึงของซุปเปอร์สตอร์มแซนดี้ ซึ่งส่งผลกระทบกำหนดการหาเสียงของทั้งสองคน แต่โอบามาได้โอกาสแสดงภาวะความเป็นผู้นำในการรับมือภัยพิบัติครั้งนี้ ทำให้ประชาชนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครคนใด เริ่มเอนเอียงไปทางโอบามา เห็นได้จากในช่วงหลัง โพลของหลายสำนัก ทั้งวอลล์สตรีท รอยเตอร์/อิบซอส ต่างให้โอบามามีคะแนนนำในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้

ที่มา 
http://th.wikipedia.org/wiki/การเลืิอกตั้งประธานาธบดีสหัฐอเมริกา ค.ศ.2012
http://www.thairath.co.th/content/oversea/304428




วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555


 asean_2510




กำเนิดอาเซียน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง



กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)


ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)

กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
(1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้


ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
           
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political and Security Community – APSC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

flag-brunei-darussalam
เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofat.gov.bn

flag-cambodia
ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfaic.gov.kh

flag-indonesia
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kemlu.go.id

flag-lao_pdr
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.la

flag-malaysia
มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.kln.gov.my

flag-myanmar
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.mm

flag-philippines
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.dfa.gov.ph

flag_singapore
สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.gov.sg

flag-thailand
ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mfa.go.th

flag-vietnam
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง
เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ : www.mofa.gov.vn